มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์
02/03/2564 , อ่าน 1375 ครั้ง

ชื่อพันธุ์

มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์

ชื่อสามัญ

round eggplant

ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum
melongena L.

วงศ์

Solanaceae พืชผัก

ผู้ปรับปรงพันธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ และทีมงานสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยความร่วมมือกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

หน่วยงาน

สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร
 
 
 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

"ต้น   ไม้พุ่ม (shrub) มีเนื้อไม้ ความสูงของลาต้น 80-90 เซนติเมตร มีขนบนลำต้นเล็กน้อย
ใบ   ใบเดี่ยว เรียงสลับ (alternate) รูปไข่ (ovate) ปลายใบแหลม (acute) ขอบใบเว้า (lobed) เป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นกลางใบ (midrib) สีเขียว แผ่นใบมีขน ก้านใบมีขน
ดอก   ช่อดอก ดอกย่อยจานวน 3-4 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง (calyx) 5 แฉกที่ปลาย สีเขียว กลีบดอก (petal) 5-6 แฉก สีม่วง เกสรเพศผู้ (anther) สีเหลือง
ผล   ผลแบบมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด (berry) รูปร่างกลม (globose) ปลายผลกลม (rounded) สีหลักสีเขียว ลายความเข้มของสีผลมีสีอ่อน เป็นเงา กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงติดทน (persistent calyx) หนา สีเขียว เนื้อในสีขาว ผลสุกสีเหลือง
ลักษณะอื่นๆ   1. อายุการออกดอก 60-65 วัน หลังเพาะเมล็ด
2. ผลผลิตประมาณ 1,000-1,200 กรัมต่อต้น"

แหล่งที่มา/ประวัติ

มะเขือเปราะพันธุ์นี้ได้จากการผสมข้ามระหว่างมะเขือเปราะสายพันธุ์แม่ พันธุ์ขาวกรอบแม่โจ้ กับสายพันธุ์พ่อ EP 06 จากแหล่งรวบรวมพันธุ์มะเขือของสาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลักษณะสายพันธุ์แม่เป็นมะเขือเปราะต้นเตี้ย ออกดอกเร็ว ติดผลเป็นช่อ ผลกลม สีขาว เนื้อกรอบ ส่วนสายพันธุ์พ่อเป็นมะเขือเปราะต้นสูง ออกดอกช้า ผลผลิตต่ำ ผลกลมใหญ่สีเขียวลาย เนื้อเหนียวไม่กรอบ ทำการผสมข้ามเมื่อปี พ.ศ. 2552 ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกคัดเลือกจำนวน 7 รอบ ได้มะเขือเปราะที่มีลักษณะคงที่ทางพันธุกรรม จากนั้นทำการปลูกทดสอบร่วมกับสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2557–2558 ได้นำไปปลูก ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และพระราชทานนามว่า “มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์”