4.2 รางวัลพิเศษ (Special Honor) จาก of Center of Women Inventors of Uzbekistan
5. สรุปเนื้อหาผลงานวิจัย
ระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลในกระชัง มีจุดประสงค์เพื่อทำพื้นที่กั้นช่องให้เป็นที่หลบซ่อนให้พ่อแม่พันธุ์ปลา เนื่องจากปลานิลเพศผู้มีนิสัยดุร้าย มักจะทำร้ายเพศเมีย ดังนั้นในระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลในกระชังจึงจำเป็นต้องออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์ เป็นระบบที่สามารถผสมพันธุ์ปลานิลได้อย่างไม่เป็นการทารุณสัตว์ และสามารถผสมพ่อแม่พันธุ์ปลานิลได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่สามารถผลิตลูกพันธุ์ที่ทราบพันธุ์ประวัติซึ้งใช้ในการประมาณความสามารถทางพันธุกรรมต่อไปได้ อีกทั้งเมื่อมีการคัดเลือกปลาไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์แล้วยังสามารถจับคู่ผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มี การเจริญเติบโตดีตามที่คาดการณ์ไว้ได้
ความเป็นนวัตกรรม
ความเป็นนวัตกรรม | เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน | เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ |
1. การออกแบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิล | ผสมพันธุ์หมู่ หลายคู่ในกระชัง ทำให้ไม่ทราบพ่อแม่พันธุ์/ พันธุ์ประวัติ | การจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลเป็นคู่ ๆ ได้โดยที่เพศผู้ไม่ทำร้ายเพศเมีย โดยออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์ทำให้ได้ลูกพันธุ์ที่ทราบพันธุ์ประวัติเพื่อการประมาณค่าความสามารถทางพันธุกรรมเพื่อการคัดเลือกได้ต่อไป |
2. ต้นทุนของระบบผสมพันธุ์ | ใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวนมากในกระชังผสมขนาดใหญ่ | ใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวนน้อย ในกระชังผสมพันธุ์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่อการผลิตต่อคู่ผสมต่ำ |
3. ลดปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ | มีการตัดจะงอยปากพ่อพันธุ์ปลานิลเพื่อไม่ให้กัดทำร้ายเพศเมีย ซึ่งเป็นการทารุณกรรมสัตว์ | ออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์กันได้โดยไม่ทำร้ายสัตว์ |
4. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ | ระบบเดิมให้แม่พันธุ์ที่มีไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์เพียง 30 % ของแม่พันธุ์ปลานิลในระยะเวลา 1 เดือน | ระบบสามารถให้แม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ถึง 50 % ในระยะเวลา 1 เดือน |
5. การนำไปใช้เชิงวิจัย | ระบบเดิมทำร้าย/ ทารุณกรรมสัตว์ ไม่ผ่านจรรยาบรรณสัตว์ทดลอง | สามารถพัฒนางานวิจัยเพื่อผลิตสายพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ได้ต่อไป |
6. การนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานิลเชิงพาณิชย์เช่น บริษัท น้ำใสฟาร์ม สามารถนำไปใช้ในการจับคู่ผสมพันธุ์ ปลานิลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยสามารถผลิตลูกพันธุ์ปลานิลอย่างต่อเนื่องและได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยระบบนี้สามารถให้แม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ถึง 50 % ในระยะเวลา 1 เดือน (ระบบเดิมแม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมคิดเป็นประมาณ 30 %) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประมาณค่าความสามารถทางพันธุกรรมเพื่อ การคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีได้ต่อไป โดยจะทำให้ได้ผลผลิตปลานิลสูงขึ้น 10 - 20 %
นอกจากนี้ยังมี บริษัท คิงฟิชกรุ๊ป นำระบบจับคู่ผสมพันธุ์นี้ไปใช้ในจับคู่ผสมพันธุ์ในการสร้างสายพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ที่จะผลิตลูกพันธุ์อินทรีย์ที่มีการเจริญเติบโตดีด้วยการคัดเลือกเมื่อเลี้ยงภายใต้ระบบ การเลี้ยงไบโอฟลอคเชิงอินทรีย์ในฟาร์มเชิงพาณิชย์ ซึ่งระบบนี้มีข้อดีคือ ไม่มีการทารุณสัตว์ และลูกพันธุ์ที่ได้มีการเจริญเติบโตดีได้เนื่องจากการคัดเลือกพันธุ์และจับคู่ผสมพันธ์ในระบบการจับคู่ผสมพันธ์นี้ ซึ่งจะไม่มีการใช้ฮอร์โมนแปลงเพศ ลูกปลานิลไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ผลผลิตที่จะเกิดขั้นในระบบการผลิตที่ดีมุ่งสู่อินทรีย์นี้จะทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 25 % ของราคาสินค้าเดิมที่มีจำหน่ายอยู่ และมีตลาดที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงโดยเฉพาะ