ฐานเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex)
12/10/2565 , อ่าน 2431 ครั้ง

โครงการฐานเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex) เป็นอาหารปลอดภัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
กุ้งก้ามกราม (Giant Freshwater Prawn) เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคประเทศไทย โดยภาคตะวันตกเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรีสุพรรณบุรีรองลงมาภาคกลาง คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (เวียง,2543)
ความสำคัญของอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ความสำคัญด้านอาหาร
กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำจืดที่ได้รับความนิยมบริโภคเป็นอย่างมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากเนื้อมีรสชาติอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น เมนูอาหารที่จักกันทั่วโลก คือ ต้มยำกุ้ง นอกจากนี้ก็มี กุ้งเผา กุ้งทอดกระเทียม ฯลฯ
ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจัดว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตลอดจนนำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท จากสถิติการประมง 2562 ปริมาณผลผลิตกุ้งก้ามกรามจากการเพาะเลี้ยง มีจำนวน 21,977 ตัน คิดเป็น มูลค่า 4,982 ล้านบาท
ความสำคัญด้านอื่น ๆ
จากขยายตัวของอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องมากมาย เช่น โรงงานปลาป่น โรงงานผลิตอาหารกุ้ง โรงงานแปรรูป โรงงานผลิตอุปกรณ์ การเลี้ยงกุ้ง ฯลฯ ก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างอาชีพในบริเวณชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

รับชมวีดีโอ : การจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในพื้นที่จำกัดด้วยระบบน้ำหมุนเวียน

ติดต่อสอบถามข้อมุลเพิ่มเติม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี วิระสิทธิ์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โทรศัพท์ : 053-875100-2 ,053-498178  E-mail : chatree_vs@mju.ac.th