ผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรง
08/03/2565 , อ่าน 5525 ครั้ง

ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หัวหน้าฐานเรียนรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์  สังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร

สื่อผสมเกสร (Pollinator)
    สื่อผสมเกสรมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทั้งในสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศทางการเกษตร ช่วยในเรื่องของการติดผลและการกระจายตัวของพืชในระบบนิเวศทั้งสองระบบ ในทางกลับกันพืชก็เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสื่อผสมเกสรเช่นกัน ในพืชส่วนใหญ่จะมีแมลงเป็นสื่อผสมเกสรหลักเพื่อเพิ่มผลผลิตและความแข็งแรงของต้นพืช โดยเขตร้อนชื้นการผสมเกสรโดยแมลง (insect pollination) สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ให้กับพืชปลูกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แมลงจะได้รับอาหารและ น้ำหวานจากพืช ส่วนพืชจะได้ประโยชน์จากการผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่แมลงที่เป็นสื่อผสมเกสรจะอยู่ในอันดับ Coleoptera, Hyrrenoptera, Lepidoptera, was Diptera
    สำหรับแมลงในอันดับ Hymenoptera ที่มีความสำคัญต่อการผสมเกสร ได้แก่ ผึ้งหลวง (Apis: dorsata), ผึ้งยิ้ม (Apis Large), ผึ้งโพรง (Apis cerano), พันธุ์ยุโรป (European honey bee: Apis mellifera และชันโรง (Tetragonula spp.) ประมาณการกันว่า 30 % ของอาหารที่มนุษย์บริโภคมาจากพืชที่ผสมเกสรโดยผึ้ง ยกเว้นธัญพืช ซึ่งจะอาศัยแรงลม หรือการผสมตนเอง
    ชันโรง (Stingless Bee) เป็นแมลงจําพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน (Subfamily Meliponinae, Farnily Apidae, Order Hymenoptera) จัดได้ว่าเป็นสื่อผสมเกสร ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการผสมเกสรในระบบนิเวศทางการเกษตร และป่าไม้ได้เป็นอย่างดี

Facebook : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้