น้ำหมักเชื้อเห็ดป่า (เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดไค เห็ดแดง เห็ดตับเต่า)
09/05/2565 , อ่าน 1628 ครั้ง

เทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่า
ความหลากหลายของเห็ดราในประเทศไทยตาม Checklist ปี 2554 มีรายงานชนิดเห็ด Basidiomycetes จำนวน 1,978 สปีชีส์ (Chandrasrikul et al. 2011) จากทั่วโลก ที่มีรายงานเห็ด Basidiomycota และ Ascomycota 3 และ 6 หมื่นกว่าสปีชีส์ ตามลำดับ ซึ่งจากประมาณการว่าเห็ดราในโลกเรามีจำนวนมากกว่า 1.5 ล้านสปีชีส์ ซึ่งนับว่ายังคงมีเห็ดราในธรรมชาติอีกมากมาย ที่รอการค้นพบและศึกษา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป ดอกเห็ดทั่วไปมีรูปร่างลักษณะที่มองเห็นหลายหลากแบบ แบ่งเป็น 13 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มเห็ดที่มีครีบ
2. กลุ่มเห็ดมันปู (คล้ายแตร)
3. กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย
4. กลุ่มเห็ดหูหนู (เป็ดเจล)
5. กลุ่มเห็ดตับเต่า (เนื้อนิ่ม ใต้ดอกเป็นรู)
6. กลุ่มเห็ดหิ้ง (คล้ายหิ้งหรือชั้น เนื้อเหนียวแข็ง ใต้ดอกเป็นรู)
7. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน
8. กลุ่มเห็ดปะการัง
9. กลุ่มเห็ดรังนก
10. กลุ่มเห็ดเขาเหม็น (ดอกเห็ดมีกลิ่นเหม็นมาก)
11. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว
12. กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ
13. กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง

การเจริญพัฒนาของเห็ด
การเจริญพัฒนาของเห็ด เริ่มจากสปอร์ไปเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จึงรวมตัวกันสร้างเป็นดอกเห็ด มีรูปร่าง ลักษณะสี และขนาดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดกลุ่มเห็ดราแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิต มี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มไมคอร์ไรซา กลุ่มแซบโพรบหรือผู้ย่อยสลาย กลุ่มที่อยู่ร่วมอาศัยกับปลวก และกลุ่มราแมลง ซึ่งเห็ดรา แต่ละกลุ่มมีลักษณะสำคัญและแนวทางการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่เหมือน และแตกต่างกันในขั้นตอนต่าง ๆ
>> คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม <<

ติดต่อเพิ่มเติม : โทร. 053-873-611 ,053-873-607  คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้