บาล์มมะแขว่น (Ma-khaen Balm)
29/12/2565 , อ่าน 912 ครั้ง

“นวัตกรรมเวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมะแขว่นและน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น”

Responsive image

    มะแขว่น (Zanthoxylum limonella Alstun; MK) พืชเครื่องเทศภาคเหนือ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compound) มากมาย เช่น lupeol, alkaloid, nutaecarpine, coumarins, scopoletin, b-pheliandrene, xanthoxyletin, sabinene, linalool, limonene, α-pinene, p-cymene และ α-terpineol (Negi et al. 2012, Bubpawan et al. 2015)

    น้ำมันหอมระเหยมะแขว่นสามารถนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ น้ำมันหอมระเหย (limonella oil) ประกอบด้วย geranial, citral, neral, neryl acetate, b-caryophyllene, ocimene และ geranyl acetate และมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ เช่น Trichophyton mentagophytesStaphylococcus aureusEcoliBacillus cereus (Negi et al. 2012) แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Antinociceptive activity) และช่วยระงับการอักเสบของผิวหนัง (Donald et al. 2016)

Responsive image

    สารประกอบฟีนอลิคใน limonella oil มีอยู่สูง (75.2 mg GAE/mg) มีฤทธิ์ต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่นและมี ferric reducing antioxidant power สูง มีค่า IC50 ต่ออนุมูลอิสระ DPPH อยู่ 5.66 mg /L และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Rhodotorula glutinisAspergillus ochraceus และ Fusarium moniliforme (Nanasombat and Wimuttigosol, 2011)

    ดังนั้นการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรพื้นบ้านภาคเหนือมะแขว่นจึงเป็นการพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรท้องถิ่นในการผลิตเวชภัณฑ์สำหรับบำรุงผิวหน้า นำไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้

เทคโนโลยี / กระบวนการ

    งานวิจัยนี้ได้นำผลมะแขว่นมาสกัดด้วยน้ำโดยใช้เทคนิคไมโครเวฟ (microwave extraction) จากนั้นนำน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น (limonella oil) วิเคราะห์สาระสำคัญในน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ limonene, sabinene และ limonene derivertives จากนั้นนำน้ำมันหอมระเหยมะแขว่นเป็นส่วนผสมหลักในเวชภัณฑ์บำรุงผิว รวมถึงวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี การประเมินความชอบรวม การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมและคุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน

น้ำมันนวดมะแขว่น

    ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของน้ำมันนวดมะแขว่น ประเมินโดยการตรวจพินิจ พบว่าน้ำมันนวดมะแขว่นมีลักษณะใส ไม่พบการตกตะกอนของคราบไขมัน ปราศจากสิ่งแปลกปลอม ให้กลิ่นหอมของมะแขว่นชัดเจนและไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ไม่มีการระคายเคืองของผิวและไม่มีผื่นแดงปรากฏ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะน้ำมันนวดตามประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฉบับที่ 1627 (2553) ที่กล่าวไว้ว่าน้ำมันนวดต้องมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-8.0 สำหรับน้ำมันนวดมะแขว่น มี pH เท่ากับ 6.2  และมีค่าความหนืด 54.7 ± 0.45 cP โดยน้ำมันนวดมะแขว่นจะช่วยหล่อลื่นระหว่างการนวดทำให้ผู้ถูกนวดรู้สึกสบายขึ้น ลดการเสียดสีและการกระจายความร้อนจากการเสียดสี

 

รับชมวิดีโอ : นวัตกรรมเวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมะแขว่นและน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น

ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มธุรส ชัยหาญ หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ : 081-2888866 อีเมล์ : mathurot@mju.ac.th