เครื่องดื่มข้าวโพดผสมเห็ดหลินจือ
06/01/2566

การผลิตภัณฑ์ชาข้าวโพดพร้อมชง ได้นําส่วนต่างๆ ของข้าวโพดไปทดสอบการทําชากับบริษัท นราห์ อินดัสตรี จํากัด โดยให้ทางบริษัททดลองหาสูตรที่เหมาะสมและได้ขอจดทะเบียนอาหารและยา ใช้ชื่อ อาหารว่า เครื่องดื่มข้าวโพดผสมเห็ดหลินจือ (ตรามอร์) (CORN MIXED WITH REISHI MUSHROOM DRINK (MORE BRAND) จดทะเบียน อย.อาหาร เลขที่ 50-2-05359-2-0094 ซึ่งมีส่วนประกอบที่สําคัญโดยประมาณ ดังนี้
    1. ข้าวโพด (Corn) 86.6696
    2. เห็ดหลินจือ (Reishi mushroom) 13.3396
    3. สารสกัดจากหญ้าหวาน (Steviol Glycoside) 0.01%

โครงการการผลิตข้าวโพดในระบบเกษตรอินทรีย์ ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ : นายเสกสรร สงจันทึก หน่วยงาน : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนด Roadmap เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (organic university) ข้าวโพดฝักสดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจสำหรับการผลิตพืชอินทรีย์ การผลิตข้าวโพดฝักสดอินทรีย์จำเป็นจะต้องมีเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์ การรวบรวมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเพื่อใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์จึงมีความสำคัญและให้อยู่ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ การแสดงออกของพืชนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (genetic) สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงที่เหมาะสมซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้น ๆ ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์พืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จึงมีความสำคัญเพราะการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคและแมลงและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีจะถูกคัดเลือกและผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในระบบการปลูกพืชแบบ
    เกษตรอินทรีย์และพัฒนาเป็นต้นแบบการผลิตข้าวโพดฝักสดอินทรีย์ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์การผลิตข้าวโพดฝักสดสำหรับต้มหรือนึ่ง และการแปรรูปจากเส้นไหมข้าวโพดฝักสดเป็นผลิตภัณฑ์ชาเส้นไหมข้าวโพดตลอดจนถึงการใช้พื้นที่แปลงปลูกข้าวโพดฝักสดอินทรีย์เป็นสถานที่สำหรับการบูรณาการด้านการเรียนการสอนการวิจัยและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไป
วัตุประสงค์
    1. เพื่อสร้างรูปแบบการผลิตข้าวโพดอินทรีย์เช่นการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด การผลิตข้าวโพดฝักสดพร้อมรับประทานและการแปรรูปจากเส้นไหมข้าวโพดเพื่อผลิตเป็นชาไหมข้าวโพดพร้อมชง
    2. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของนักศึกษาและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอินทรีย์
    3. เพื่อเป็นแหล่งบริการเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอินทรีย์

รายละเอียดเพิ่มเติม : การผลิตข้าวโพดในระบบเกษตรอินทรีย์

 

ติดต่อและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : นายเสกสรร สงจันทึก
สังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
โทรศัพท์ : 0 5387 3430