ระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิล (Tilapia Mating System)
21/04/2564

1. ชื่อผลงาน ระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิล (Tilapia Mating System)
2. ชื่อนักวิจัย 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ 2) นางสาวปุญชรัศมิ์ มีแก้ว
3. ที่อยู่ติดต่อนักวิจัย คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4. รางวัลที่ได้รับ
    4.1 รางวัลเหรียญเงิน (Silver Prize) จากการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยสตรี ในงาน Korea International Women's Invention Exposition 2019 (KIWIE 2019) ระหว่างวันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2562 ณ ประเทศเกาหลีใต้
    4.2 รางวัลพิเศษ (Special Honor) จาก of Center of Women Inventors of Uzbekistan

5. สรุปเนื้อหาผลงานวิจัย
    ระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลในกระชัง มีจุดประสงค์เพื่อทำพื้นที่กั้นช่องให้เป็นที่หลบซ่อนให้พ่อแม่พันธุ์ปลา เนื่องจากปลานิลเพศผู้มีนิสัยดุร้าย มักจะทำร้ายเพศเมีย ดังนั้นในระบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลในกระชังจึงจำเป็นต้องออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์ เป็นระบบที่สามารถผสมพันธุ์ปลานิลได้อย่างไม่เป็นการทารุณสัตว์ และสามารถผสมพ่อแม่พันธุ์ปลานิลได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่สามารถผลิตลูกพันธุ์ที่ทราบพันธุ์ประวัติซึ้งใช้ในการประมาณความสามารถทางพันธุกรรมต่อไปได้ อีกทั้งเมื่อมีการคัดเลือกปลาไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์แล้วยังสามารถจับคู่ผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มี การเจริญเติบโตดีตามที่คาดการณ์ไว้ได้

ความเป็นนวัตกรรม

ความเป็นนวัตกรรม   เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน   เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ  
1. การออกแบบการจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิล ผสมพันธุ์หมู่ หลายคู่ในกระชัง ทำให้ไม่ทราบพ่อแม่พันธุ์/ พันธุ์ประวัติ การจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลเป็นคู่ ๆ ได้โดยที่เพศผู้ไม่ทำร้ายเพศเมีย โดยออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์ทำให้ได้ลูกพันธุ์ที่ทราบพันธุ์ประวัติเพื่อการประมาณค่าความสามารถทางพันธุกรรมเพื่อการคัดเลือกได้ต่อไป
2. ต้นทุนของระบบผสมพันธุ์ ใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวนมากในกระชังผสมขนาดใหญ่ ใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวนน้อย ในกระชังผสมพันธุ์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่อการผลิตต่อคู่ผสมต่ำ
3. ลดปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ มีการตัดจะงอยปากพ่อพันธุ์ปลานิลเพื่อไม่ให้กัดทำร้ายเพศเมีย ซึ่งเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ออกแบบที่หลบซ่อนให้ปลาเพศเมีย และมีบริเวณให้พ่อแม่พันธุ์ได้ผสมพันธุ์กันได้โดยไม่ทำร้ายสัตว์
4. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ระบบเดิมให้แม่พันธุ์ที่มีไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์เพียง 30 % ของแม่พันธุ์ปลานิลในระยะเวลา 1 เดือน ระบบสามารถให้แม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ถึง 50 % ในระยะเวลา 1 เดือน
5. การนำไปใช้เชิงวิจัย ระบบเดิมทำร้าย/ ทารุณกรรมสัตว์ ไม่ผ่านจรรยาบรรณสัตว์ทดลอง สามารถพัฒนางานวิจัยเพื่อผลิตสายพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ได้ต่อไป

6. การนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์

   ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานิลเชิงพาณิชย์เช่น บริษัท น้ำใสฟาร์ม สามารถนำไปใช้ในการจับคู่ผสมพันธุ์ ปลานิลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยสามารถผลิตลูกพันธุ์ปลานิลอย่างต่อเนื่องและได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยระบบนี้สามารถให้แม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ถึง 50 % ในระยะเวลา 1 เดือน (ระบบเดิมแม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมคิดเป็นประมาณ 30 %) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประมาณค่าความสามารถทางพันธุกรรมเพื่อ การคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีได้ต่อไป โดยจะทำให้ได้ผลผลิตปลานิลสูงขึ้น 10 - 20 %
   นอกจากนี้ยังมี บริษัท คิงฟิชกรุ๊ป นำระบบจับคู่ผสมพันธุ์นี้ไปใช้ในจับคู่ผสมพันธุ์ในการสร้างสายพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ที่จะผลิตลูกพันธุ์อินทรีย์ที่มีการเจริญเติบโตดีด้วยการคัดเลือกเมื่อเลี้ยงภายใต้ระบบ การเลี้ยงไบโอฟลอคเชิงอินทรีย์ในฟาร์มเชิงพาณิชย์ ซึ่งระบบนี้มีข้อดีคือ ไม่มีการทารุณสัตว์ และลูกพันธุ์ที่ได้มีการเจริญเติบโตดีได้เนื่องจากการคัดเลือกพันธุ์และจับคู่ผสมพันธ์ในระบบการจับคู่ผสมพันธ์นี้ ซึ่งจะไม่มีการใช้ฮอร์โมนแปลงเพศ ลูกปลานิลไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ผลผลิตที่จะเกิดขั้นในระบบการผลิตที่ดีมุ่งสู่อินทรีย์นี้จะทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 25 % ของราคาสินค้าเดิมที่มีจำหน่ายอยู่ และมีตลาดที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงโดยเฉพาะ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : 089-2301152, 064-9953541
E-mail : nissara52@gmail.com
Facebook : นายไบโอฟิช , PETER FISH

วีดีโอที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม....
- การเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค เพื่อยกระดับผลผลิตคุณภาพสูง
- การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ ภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบไบโอฟลอค
- ผลิตภัณฑ์ปลานิลอินทรีย์คุณภาพสูง