โครงการส่งเสริมระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน
โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มาของโครงการ
ปัญหาที่พบในกลุ่มเลี้ยงปลาน้ำจืด คือ ความแปรปรวนของอากาศ โดย ในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิบ่อปลา จะต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลา และทำให้ปลาที่เลี้ยงในบ่อหยุดการเจริญเติบโต ส่งผลให้ระยะเวลาการเลี้ยงปลาในรอบปีทำได้เพียง 2-3 รอบการเลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการใช้งานระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์กับกลุ่มชุมชนเลี้ยงปลาน้ำจืดในท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้การใช้งานระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์ และปรับปรุงระบบการเลี้ยงปลาให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัย
ถ้าใช้ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ควบคู่กับการเพาะเลี้ยงในระบบ Green house จะทำให้น้ำมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นบางส่วน และจะทำให้ใช้พื้นที่ตัวรับรังสีน้อยลง โดยการใช้ Green house คลุมบ่อ จะช่วยลดการสูญเสียความร้อนด้วยการพาความร้อน และแผ่รังสีสู่ท้องฟ้า
การพัฒนาต้นแบบระบบ บ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์
การศึกษาการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ในโรงเรือน มีการเจริญเติบโตของปลาดุกสูงกว่า เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในบ่อดินที่มีการปูพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ที่ไม่มีโรงเรือน โดยจะเห็นผลได้ชัดเจนในระยะหลังจากการเลี้ยงผ่านไป 15 วัน
สำหรับบ่อเลี้ยงแบบโรงเรือนและใช้ความร้อนจากแผงรับรังสีแสงอาทิตย์ สามารถเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงเป็น 4 รอบการเลี้ยงปลาต่อปี
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของปลาจะอยู่ในช่วง 28-32 องศาเซลเซียส ส่งผลให้อัตราการเปลี่ยนเนื้อสูงขึ้น ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้นลง และลดต้นทุนทางด้านอาหารในการเลี้ยง
ผลการประเมินทางเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจภายในโรงเรือนแสงอาทิตย์ ได้แก่ ปลาดุก ปลาหมอ และกบ เมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลามีการ ลงทุนสำหรับการสร้างบ่อ 100% โดยผลการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจภายในโรงเรือนแสงอาทิตย์
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยการเลี้ยงกบเพื่อจำหน่ายเป็นเนื้อกบมีระยะเวลาการคืนทุน 4.10 ปี ในขณะที่การเลี้ยงปลาดุกเพื่อจำหน่ายเป็นเนื้อปลามีระยะเวลา การคืนทุนนานที่สุดเมื่อเทียบกับผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยการเลี้ยงปลาดุกเพื่อจำหน่ายเป็นเนื้อปลามีระยะเวลาการคืนทุน 6.59 ปี จากผลการวิเคราะห์ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถนำไปเป็นแนวทางในการตัดสินใจสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาดุก ปลาหมอ และกบ ภายในโรงเรือนแสงอาทิตย์ได้ตามความเหมาะสม