หยิน-หยาง: ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับพืชผักสวนครัว
ในประเทศไทย ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง การไฟฟ้ามีขยะเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า คือ "ยิปซัมฟอสเฟต” ซึ่งได้ปริมาณมากต่อปี โดยมีมูลค่าตันละ 20-40 บาท ในปัจจุบันมีการศึกษาประโยชน์ของยิปซัมฟอสเฟต พบว่า สามารถนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้ ในประเทศไทยและต่างประเทศจึงนำมาใช้ใน อุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนั้นยังมีรายงานมากมายที่กล่าวว่าการใช้ยิปซัมเป็นสารปรับปรุงดินสามารถเพิ่มผลผลิตต่อการเกษตรได้มากขึ้น ดังนั้นด้วยนวัตกรรม ที่ รศ.ดร. ณัฐพร จันทร์ฉาย บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติมีจึงได้พัฒนา “ผลิตภัณฑ์หยินหยาง” ซึ่งเป็นบูรณาการชีวนวัตกรรมบรรจุ หัวเชื้อเอนโดไฟท์ติกแบคทีเรียรวมกับยิปซัมฟอสเฟตมาพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์เพื่อการเกษตร โดยผลิตภัณฑ์หยินหยาง มีการแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 หยินเป็นการนำถ่านชาโคลซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับ ทำการอัดเม็ดออกมาให้อยู่ในรูปแบบเม็ดเล็ก ที่มีความยาวประมาณ 1-2 ซม. ส่วนที่ 2 หยาง เป็นการผสมวัสดุรองรับอินทรีย์ ได้แก่ ยิปซัมฟอตเฟส ฝุ่นข้าวโพด เปลือกไข่อินทรีย์ เศษไม้ไผ่ และเปลือกข้าวอินทรีย์ และทำการบรรจุหัวเชื้อเอนโดไฟท์ติกแบคทีเรียลงที่วัสดุรองรับอินทรีย์พร้อม อัดออกมาในรูปแบบเม็ด ที่มีขนาดประมาณ 1-2 ซม.
นวัตกรรมผลิตชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติมโตสำหรับพืชผักสวนครัวจากจุลินทรีย์กลุ่มเอนโดไฟติกแบคทีเรียสายพันธุ์เฉพาะ ที่สามารถผลิตสารชีวภัณฑ์ ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและวัสดุรองรับอินทรีย์ที่ส่งเสริมกลุ่มจุลินทรีย์ให้สามารถเติบโตได้ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชันเพื่อเก็บรักษาทำให้มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต 1.0 x 108 CFU/กรัม โดยใช้ผสมหรือโรยบนดินปลูก จุลินทรีย์จะเข้าไปเกาะบริเวณขนรากช่วยในการตรึงไนโตรเจน ผลิตฟอสฟอรัส และ Indole-3-acetic acid (IAA) 8.15 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ช่วยกระตุ้นการยึดตัวและการแบ่งของเซลล์พืช และมีฤทธิ์ต้านทานเชื้อก่อโรครากเน่า ทั้งนี้ยังช่วยลดขั้นตอนการดูแลเหลือ 3 ขั้นตอน ลดต้นทุนการใช้ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตลงร้อยละ 14 เพิ่มผลผลิตสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ตลอดจนช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ผลงานวิจัยโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โทรศัพท์ : 081 518 1577 อีเมล์ : nuttapornchanchay@gmail.com