ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ราก ระบบรากเป็นแบบรากแก้ว ประกอบด้วย รากแก้ว ที่เจริญมาจากแรดิเคิล มีรากแขนง เจริญออกจากรากแก้วบริเวณรากมีปม เกิดจากแบคทีเรียไรโซเบียมเข้าไปอาศัยอยู่
ลำต้น เป็นไม้เนื้ออ่อน มีความสูง 15-70เซนติเมตรลำต้นเป็นแบบแผ่พุ่ม ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขมากน
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบ มีใบย่อย 2 คู่ เกิดสลับกันบนข้อของลำต้น รูปร่างใบย่อยเป็นรูปไข่ ขอบใบย่อยเรียบ ที่โคนก้านใบ มีหูใบ 2 อัน ลักษณะแหลมและแคบ
ช่อดอกและดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง ฐานของก้านดอกมี bract 1 อัน และ bracteole 2 อัน ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงมีส่วนฐานเชื่อมติดกัน กลีบดอกที่มีส่วนฐานเชื่อมติดกัน กลีบ ได้แก่ กลีบขนาดใหญ่ 1 กลีบ กลีบขนาดกลางที่อยู่ด้านข้าง 2 กลีบ และกลีบขนาดเล็ก 2 กลีบ ก้านเกสรตัวผู้ที่รวมกัน เป็นท่อยาวเล็ก ๆ คล้ายก้านดอก เรียกว่า hypanthium ส่วนเกสรตัวเมีย อยู่เหนือ hypanthium ตรงฐาน hypanthium มีก้านเกสรตัวเมียยาว เจริญผ่าน hypanthium จากรังไข่ ฐานของรังไข่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ intercalary meristem ที่ให้กำเนิด peg หรือ gynophore
ผลและเมล็ด ผลเป็นแบบ legume เรียกทั่วไปว่าฝักประกอบด้วย เปลือกหุ้มฝักแข็งและเปราะ เยื่อหุ้มเมล็ดบาง มีสีชมพูอ่อน
ลักษณะทางเกษตรศาสตร์
ให้ผลผลิตสดประมาณ 700 กก./ไร
ผลผลิตแห้งประมาณ 370 กก./ไร่
ผลผลิตสูงอายุเก็บเกี่ยว 120-130 วัน
ขนาดฝักโตเมล็ดใหญ่ทนราสนิมและใบจุด
น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69 กรัม
แหล่งที่มา/ประวัติ
ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่คัดเลือกได้จากโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงซึ่งได้ดำเนินกาต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ตั้งแต่ สร้างลูกผสมชั่วแรกในปี พ ศ 2520 จาก 10 สายพันธุ์ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ กอบด้วยIsrael L. 136, Tarapoto, Pl 337394, Pl 109839, Pl 337409,DHT 200, Tifon 8, Geogia 199-20, N -C 2 และ Shulamit ซึ่งพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่เป็นพันธุ์ที่สร้างขึ้นเองในประเทศไทย และมีลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์
ข้อจำกัด
เมล็ดต้องผ่านระยะพักตัวจึงจะงอก