อะพาไทต์ชนิดขบเคี้ยวจากเปลือกหอยมุกสำหรับป้องกันอาการเสียวฟัน
08/03/2565

1. ชื่อผลงาน อะพาไทต์ชนิดขบเคี้ยวจากเปลือกหอยมุกสำหรับป้องกันอาการเสียวฟัน
    Chewing Apatite from Pearl Shells for Sensitive Tooth Protection
2. ชื่อนักวิจัย อาจารย์ ดร.นิรวรรณ ธรรมขันธุ์
3. ที่อยู่ติดต่อนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4. รางวัลที่ได้รับ
    4.1 รางวัลเหรียญเงิน (Silver Prize) จากการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยสตรี ในงาน Korea International Women's Invention Exposition 2019 (KIWIE 2019) ระหว่างวันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2562 ณ ประเทศเกาหลีใต้
    4.2 รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association ประเทศอินโดนีเซีย

5. สรุปเนื้อหาผลงานวิจัย
    เนื่องจากอะพาไทต์เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับกระดูกและฟันของมนุษย์ จึงนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุชีวภาพในทางการแพทย์โดยเฉพาะทางด้านกระดูกและฟัน เมื่อนำอะพาไทต์มาเป็นส่วนผสมของขนมแบบขบเคี้ยว อะพาไทต์จะทำหน้าที่ช่วยเสริมให้กระดูกและฟันแข็งแรง โดยอะพาไทต์สามารถเตรียมได้จากวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมทางภาคเหนือคือ เปลือกหอยมุก ด้วยวิธีการตกตะกอนในสารละลาย ซึ่งเป็นการผลิตที่ง่าย ต้นทุนต่ำ แต่ร้อยละผลผลิตค่อนข้างสูง สามารถต่อยอดกระบวนการผลิตอะพาไทต์และผลิตภัณฑ์ชนิดขบเคี้ยวของอะพาไทต์ในเชิงพาณิชย์ได้
ลักษณะผลงาน
    - กระบวนการผลิตอะพาไทต์ง่าย ต้นทุนต่ำ ร้อยละของผลผลิตสูง
    - เป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    - อะพาไทต์ชนิดขบเคี้ยวที่ได้มีส่วนผสมของแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งก็คือ อะพาไทต์ ที่ช่วยทำให้ป้องกันอาการเสียวฟัน อีกทั้งร่างกายยังได้รับแคลเซียมจากอะพาไทต์
ความเป็นนวัตกรรม
    - ใช้เปลือกหอยมุกเป็นสารตั้งต้นในการผลิดอะพาไทต์
    - ขนมขบเคี้ยวมีส่วนผสมของอะพาไทต์ที่ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง

6. การนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
    สามารถนำกระบวนการผลิตอะพาไทต์ไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตได้ รวมทั้งสามารถผลิตภัณฑ์อะพาไทต์ชนิดขบเคี้ยวเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ได้